9 ซ.ศรีนครินทร์38 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

รู้ทันค่าน้ำตาล เบาหวานป้องกันได้

ทำไมการตรวจค่าน้ำตาลถึงสำคัญ?

ค่าน้ำตาลคือสิ่งที่บ่งบอกว่าดูแล และควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขนาดไหน ยิ่งเรารู้ทันค่าน้ำตาล และดูแลตัวเองดีมากเท่าไหร่ โอกาสที่อาการจะหนักขึ้นหรือเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เบาหวานลง ขึ้นตา ปลายประสาทอักเสบ ก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น

เนื่องจากค่าน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีการ ขึ้น-ลง ไม่สม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะความเครียด กินอาหารที่มีรสหวาน หรือกระทั่งการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ล้วนแล้วแต่จะทำให้มีค่าน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูงขึ้นอย่างชัดเจน แต่หากได้ทานยา หรือมีการออกกำลังกายค่าน้ำตาลก็จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง การรู้ค่าน้ำตาลของตัวเองว่าอยู่ในระดับไหนจะช่วยให้เราเตรียมพร้อมรับมือการโรคเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น

ตรวจค่าน้ำตาล ทำอย่างไร?

เราสามารถตรวจค่าน้ำตาลเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้ เครื่องตรวจน้ำตาล ชนิดเข็มเจาะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ราคาแตกต่างกันตามคุณภาพ และความแม่นยำของเครื่อง โดยเครื่องตรวจน้ำตาลนั้นใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้เพียงหยุดเลือดจากปลายนึงเล็กๆ แตะเข้ากับกระดาษทดสอบ จากนั้นผลตรวจค่าน้ำตาลก็จะแสดงขึ้นบนหน้าจอของตัวเครื่อง คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญคือให้จดค่าน้ำตาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษา และดูแลตัวเองนั้นง่ายขึ้น

ควรตรวจค่าน้ำตาลบ่อยขนาดไหน?

ความถี่นั้นขึ้นอยู่กับภาวะอาการของผู้ป่วย โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับภาวะอาการของโรค หากภาวะเบาหวานที่รุนแรงถึงขั้นฉีดอินซูลิน อาจจะต้องมีการตรวจน้ำตาลที่ค่อนข้างถี่ทุกวัน หรือหลังอาหารทุกมื้อเลยทีเดียว

หากค่าน้ำตาลสูงเกินไป ควรทำอย่างไร?

ภาวะค่าน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) คือภาวะที่ร่างกายตรวจวัดค่าน้ำตาลได้สูงเกินกว่า 180 เดซิลิตรอย่างต่อเนื่อง และมักมีภาวะแทรกซ้อนที่เด่นชัดแสดงออกมา เช่น มือชาเท้าชา สายตาพร่ามัว ปัสสาวะบ่อย ผิวแห้ง เหนื่อยง่าย เวียนหัว การแก้ไขเบื้องต้นคือการดื่มน้ำเปล่าปริมาณมาก หรือดื่มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้มากขึ้น

หากค่าน้ำตาลต่ำเกินไป ควรทำอย่างไร?

ภาวะค่าน้ำตาลต่ำ (Hypoglycemia) คือภาวะอาการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลต่ำกว่า 70 ซึ่งการที่ค่าน้ำตาลน้อยเกินไปก็เป็นอันตราย และต้องการการดูแลเช่นเดียวกันกับภาวะค่าน้ำตาลสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานน้ำตาลสูงทุกคนก็สามารถมีสิทธิเกิดภาวะค่าน้ำตาลต่ำได้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้อินซูลินร่วมกับยาลดค่าน้ำตาลเป็นประจำ

ภาวะน้ำตาลน้ำสามารถสังเกตได้จากการที่ร่างกายมีอาการสั่น เหงื่อออกเยอะ หน้าซีด หรือรู้สึกหิวมากๆ หากมีอาการเหล่านี้ก็ควรใช้เครื่องตรวจน้ำตาลเช็คดู หากค่าน้ำตาลต่ำกว่า 70 การดูแลเบื้องต้นคือบริโภคน้ำตาลเข้าไปเพิ่ม เช่น ลูกอม น้ำหวาน เป็นต้น

การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (Hemoglobin A1c : HbA1c)

โดยการตรวจค่าน้ำตาลสะสม HBA1C นั้นจะเป็นการตรวจปริมาณน้ำตาลที่จับตัวอยู่กับ ‘ฮีโมโกบิน’ (โปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง) ซึ่งตามปกติแล้วเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุอยู่ไม่เกิน 3 เดือน ดังนั้นการตรวจประเภทจะทำให้แพทย์สามารถรู้ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลย้อนหลังได้มากถึง
1 – 3 เดือนเลยทีเดียว จากนั้นจึงจะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มและสภาวะอาการได้อย่างแม่นยำกว่าการตรวจค่าน้ำตาลสะสม การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในกลุ่มผู้ป่วยนั้น ควรตรวจทุกๆ 6 เดือนซึ่งจะช่วยให้การติดตามอาการ และดูแลรักษาโรคเบาหวานเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ อันตราย และต้องการเอาใจใส่ที่มากเป็นพิเศษ การรู้เท่าทันค่าน้ำตาลที่ขึ้นลงไม่สม่ำเสมออยู่ตลอดเวลานั้นจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรจำขึ้นใจ การที่มีเครื่องตรวจน้ำตาลติดบ้านไว้เพื่อเช็คค่าน้ำตาลตัวเองอยู่เสมอจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับมือโรคเบาได้อย่างมีประสิทฑิภาพมากขึ้นค่ะ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

www.niddk.nih.gov

pharmacy.hcu.ac.thถ

ปรึกษาเภสัชฟรี

ผู้ที่มีปัญหาค่าน้ำตาลสูงหรือมีความแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวาน สามารถโทรปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่เบอร์ 02-123-3866

สารบัญเนื้อหา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *