9 ซ.ศรีนครินทร์38 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

ค่าน้ำตาลในเลือด FBS กับ HbA1c ต่างกันยังไง

ค่าน้ำตาลในเลือด FBS กับ HbA1c ต่างกันยังไง

รู้หรือไม่ว่า ในคนไทยทุกๆ 11 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็น “โรคเบาหวาน” 1 คน และ มีอีก 43% ที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ รวมไปถึงยังมีกลุ่มเสี่ยงอีกจำนวนมากที่ยังไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคนี้ เนื่องจากคนไทยส่วนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องของภาวะและค่าน้ำตาลอยู่ บทความนี้จึงอยากบอกเล่าถึงความสำคัญของการเช็คค่าน้ำตาลของตัวเอง

ค่าน้ำตาลในเลือด FBS กับ HbA1c ต่างกันยังไง

FBS กับ HbA1c ต่างกันยังไง ค่าน้ำตาล คือเกณฑ์วัดระดับน้ำตาลในเลือด เกณฑ์ระดับน้ำตาลจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ค่าน้ำตาลรายวัน (FBS:Fast Blood Sugar) และ ค่าน้ำตาลสะสม (HBA1C) ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราเข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยเบาหวานหรือเปล่า มีลักษณะแตกต่างกัน วิธีการตรวจก็ต่างกัน สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน ไม่เป็นไร เราจะพาไปรู้จักไปพร้อมกันเลย

ค่าน้ำตาลรายวัน (FBS: Fast Blood Sugar)

คือค่าน้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกายของเราจากการกินอาหารในแต่ละวัน เป็นการตรวจเพื่อหาค่าน้ำตาลภายใน 2 – 3 วัน โดยผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดอาหารให้ได้ 8 ชั่วโมงก่นเข้ารับการตรวจ เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการตรวจค่าน้ำตาลแบบเบื้องต้น ซึ่งจะทำให้แพทย์รู้ได้ว่า ผู้ป่วยบริโภคน้ำตาลขนาดไหน หรือร่างกายมีประสิทธิภาพในการขับน้ำตาลได้ดีหรือไม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นจะยังบอกไม่ได้อย่างแม่นยำว่าผู้เข้ารับการตรวจนั้นเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เพราะค่าน้ำตาลรายวันสามารถผันผวนได้ ขึ้นอยู่กับ อารมณ์ ภาวะความเครียด การพักผ่อน เป็นต้น การตรวจค่าน้ำตาลรายวันนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเองผ่าน เครื่องตรวจน้ำตาล ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและมีวิธีการตรวจที่ไม่ยุ่งยากอีกด้วย ผู้มีความเสี่ยงทุกคนควรมีติดบ้านไว้บ้านไว้ คอยดูแลตัวเองและคงค่าน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ

บางแหล่งข้อมูลก็บอกไว้ว่าถ้าผลตรวจค่าน้ำตาลรายวัน มีน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอยู่ในระดับปกติ ถ้ามีน้ำตาลกลูโคสตั้งแต่ 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการกินอาหารทันที ถ้ามีน้ำตาลกลูโคสสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว

ค่าน้ำตาลสะสม (HBA1C)

คือค่าน้ำตาลสะสมในร่างกายที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ด้วยหลายเหตุผล เช่น น้ำตาลสะสมในเลือดเยอะเกินไป ตับอ่อนทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จนอินซูลินหลั่งออกมาได้ไม่เพียงพอ หรือ ผู้ป่วยยังคงมีพฤติกรรมกินติดหวานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเหตุผลทางด้านอายุและสภาพร่างกายต่างๆ ด้วย โดยการตรวจค่าน้ำตาลสะสม HBA1C นั้นจะเป็นการตรวจปริมาณน้ำตาลที่จับตัวอยู่กับ ‘ฮีโมโกบิน’ (โปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง) ซึ่งตามปกติแล้วเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุอยู่ไม่เกิน 3 เดือน ดังนั้นการตรวจประเภทจะทำให้แพทย์สามารถรู้ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลย้อนหลังได้มากถึง 1 – 3 เดือนเลยทีเดียว จากนั้นจึงจะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มและสภาวะอาการได้อย่างแม่นยำกว่าการตรวจค่าน้ำตาลสะสม การตรวจค่าน้ำตาลสะสมในกลุ่มผู้ป่วยนั้น ควรตรวจทุกๆ 6 เดือนซึ่งจะช่วยให้การติดตามอาการ และดูแลรักษาโรคเบาหวานเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถหายขาดได้ แต่สามารถอาการดีขึ้นได้จนใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข หากผู้ป่วยดูแล ป้องกัน บำรุงได้อย่างถูกต้อง ก็จะสามารถเอาชนะโรคเบาหวานได้อย่างไม่ยากลำบากนัก

แหล่งอ้างอิง

www.diabetes.co.uk

medlineplus.gov

สารบัญเนื้อหา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *