อุปกรณ์ทั้งหมด
- เครื่องวัด (มิเตอร์)
- คู่มือการใช้งาน
- แบตเตอรี่อัลคาไลน์ AAA สองก้อน
- แผ่นทดสอบ
- อุปกรณ์สำหรับเจาะเลือด
- เข็มเจาะเลือดที่ผ่านการฆ่าเชื้อ
ก่อนเริ่มต้นการใช้งาน
การติดตั้งแบตเตอรี่
- เปิดฝาครอบแบตเตอรี่ที่ด้านหลังของเครื่องวัด
- หากเปลี่ยนแบตเตอรี่ โปรดถอดแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วออก
- ใส่แบตเตอรี่ใหม่ (AAA) 2 ก้อนที่มีทิศทาง +/- ที่ถูกต้อง
- ปิดฝาครอบแบตเตอรี่
วิธีใช้เครื่องตรวจน้ำตาล Assure
ขั้นตอนที่ 1
ก่อนเริ่มลงมือตรวจ ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด
ขั้นตอนที่ 2
นำแผ่นทดสอบออกจากขวดด้วยมือที่สะอาด แห้ง สามารถจับที่ตำแหน่งใดบนแผ่นทดสอบก็ได้ ห้ามดัดงอ ตัด หรือเปลี่ยนแผ่นทดสอบไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น นำแผ่นทดสอบออกจากขวดแล้วใช้ได้ทันที
ขั้นตอนที่ 3
ใส่ปลายแผ่นทดสอบเข้าไปในช่องเชื่อมต่อที่เครื่องวัด เครื่องจะเปิดขึ้นอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่ 4
เมื่อสัญลักษณ์หยดเลือดกระพริบบนหน้าจอ คุณสามารถเลือกโหมดการวัดที่ต้องการได้เลย (โหมดทั่วไป และโหมด CTL)
ขั้นตอนที่ 5
หยดเลือดบนรูซับของแผ่นทดสอบ
ขั้นตอนที่ 6
ทันทีที่แผ่นทดสอบสัมผัสกับหยดเลือด ตัวเครื่องจะเริ่มประมวลผลการทดสอบ คุณจะได้ยินเสียงปี๊ปเพื่อแจ้งให้ทราบว่าการทดสอบได้เริ่มขึ้นแล้ว ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 5 วินาที
ขั้นตอนที่ 7
เมื่อเครื่องประมวลผลเสร็จ หน้าจอจะแสดงระดับน้ำตาลในเลือดของคุณพร้อมวันที่ และเวลาจะปรากฏบนจอแสดงผล ซึ่งผลลัพธ์ค่าน้ำตาลของคุณจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่องอัตโนมัติ สามารถกดเพื่อดูผลย้อนหลังได้ถึง 20 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 8
ปล่อยแผ่นทดสอบที่ใช้แล้ว และเข็มออก หากต้องการนำแผ่นทดสอบออก ให้ชี้แถบนั้นไปที่ภาชนะสำหรับทิ้งวัตถุมีคม เครื่องวัดจะปิดตัวเองโดยอัตโนมัติหลังจากแผ่นทดสอบถูกปล่อยทิ้งไว้แล้ว
ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำสะอาดหลังจากใช้เครื่องวัด อุปกรณ์เจาะเลือด หรือแผ่นทดสอบเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ : ตรวจสอบให้มั่นใจว่าใช้แผ่นทดสอบ “G-425-35” เพราะแผ่นทดสอบชนิดอื่นอาจให้ผลการตรวจที่ไม่ถูกต้อง
คำเตือน สำหรับผู้มีภาวะเบาหวาน
- ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้เครื่อง และไม่ควรใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดนี้ในการวินิจฉัยรักษาโรคหรือสั่งยาด้วยตัวเอง
- ก่อนใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ควรอ่านฉลากเอกสารกำกับเครื่อง และปฏิบัติตามทุกครั้ง
- หากมีปัญหาหรือต้องการทราบข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดโปรดติดต่อแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์
การดูแลและเก็บรักษาอุปกรณ์ของคุณ
- ใช้เครื่องวัดด้วยความระมัดระวัง การทำเครื่องวัดหล่นหรือการขว้างปาอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
- อย่าให้ระบบตรวจน้ำตาลในเลือด แผ่นทดสอบ และสารละลายควบคุม สัมผัสกับสภาวะที่รุนแรง เช่น
- ความชื้นสูง ความร้อน ความเย็นจัด หรือฝุ่นละออง สภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษา
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสบู่เสมอ โดยล้างมือและเช็ดให้แห้งก่อนใช้งานเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและแผ่นทดสอบ
- ระมัดระวังการทิ้งใบมีด ควรทิ้งใบมีดที่ใช้แล้วลงในภาชนะสำหรับของมีคมโดยเฉพาะ
การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับขั้นตอนการทดสอบเนื่องจากการทำความสะอาด สามารถรับประกันได้ว่าเครื่องวัดจะทำงานได้ดี (เช่น หน้าจอจะมองเห็นได้ชัดเจนจากการทำความสะอาด) และการฆ่าเชื้อสามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อให้กับคุณหรือคนอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ ขอย้ำเตือนว่าควรทำความสะอาดเครื่องตรวจหลังจากใช้งานทุกครั้งค่ะ
ข้อจำกัดในการใช้งานเครื่องตรวจน้ำตาล
- ห้ามใช้กับทารกแรกเกิด
- ควรใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดกับแผ่นทดสอบรุ่น “G-425-3S” เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ
- ผู้ป่วยที่รับการบำบัดด้วยออกซิเจน อาจทำให้เกิดผลลัพธ์หลอกที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
- ไม่สามารถใช้งานกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ชนิด hyperglycemic-hyperosmolar state ที่มีหรือไม่มีภาวะคีโตซิส
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยวิกฤต
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดน้ำ, ความดันโลหิตสูง, ความดันโลหิตต่ำหรือช็อค
- ผู้ที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำมาก (ต่ำกว่า 20%) หรือสูงมาก (มากกว่า 60%) หรือ ฮีมาโตคริต อาจทำให้ผลการทดสอบไม่ถูกต้อง หากคุณไม่ทราบระดับฮีมาโรคริตของคุณ เราแนะนำว่าให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งานเครื่องตรวจวัดน้ำตาล Assure